คำถามที่พบบ่อย.
กรณีตั๋วรับจำนำหายจะดำเนินการอย่างไร?
1. ให้เจ้าของตั๋วมาติดต่อที่สถานธนานุเคราะห์ที่ใช้บริการเจ้าหน้าที่จะทำการออกใบแทนให้กับผู้ใช้บริการ
2. ผู้ใช้บริการนำใบแทนที่สถานธานุเคราะห์ออกให้ไปติดต่อที่สถานีตำรวจเพื่อลงบันทึกประจำวัน
3. นำใบบันทึกประจำวันและใบแทนที่สถานธนานุเคราะห์ออกให้กลับมาที่สถานธนานุเคราะห์เพื่อทำการส่งดอกหรือไถ่ถอน
(06 ก.พ. 2563)
ระยะเวลาของทรัพย์จำนำเป็นเท่าใด?
สถานธนานุเคราะห์ได้กำหนดระยะเวลาการเก็บรักษาทรัพย์จำนำของผู้ใช้บริการในแต่ละราย.
ภายในกำหนดทรัพย์จำนำนั้นจะหลุดเป็นสิทธิของสถานธนานุเคราะห์
(17 ก.พ. 2563)
สถานธนานุเคราะห์เรียกเก็บอัตราดอกเบี้ยรับจำนำเท่าใด?
-เงินต้นไม่เกิน 5,000 บาท คิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.25 ต่อเดือน
- เงินต้น 5,001 บาท แต่ไม่เกิน 10,000 บาท คิดดอกเบี้ยร้อยละ 0.75 ต่อเดือน
- เงินต้น 10,001 บาท แต่ไม่เกิน 20,000 บาท คิดดอกเบี้ยร้อยละ 1.00 ต่อเดือน
- เงินต้น 20,001 บาท แต่ไม่เกิน 100,000 บาท คิดดอกเบี้ยร้อยละ 1.25 ต่อเดือน
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2561 เป็นต้นไป จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง
(01 ก.พ. 2561)
สถานธนานุเคราะห์ให้บริการรับจำนำสิ่งของประเภทใดบ้าง?
สถานธนานุเคราะห์ทุกแห่งให้บริการรับจำนำ ดังนี้
- การรับจำนำสิ่งของประเภท ทอง นาก เงิน เพชร ที่เป็นรูปพรรณตั๋วฉบับละไม่เกิน 100,000 บาท
- การรับจำนำสิ่งของประเภทเบ็ดเตล็ด เช่น กล้องถ่ายรูป นาฬิกา แว่นตา เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องมือช่าง ฯลฯ ตั๋วฉบับละไม่เกิน 50,000 บาท
- ตั๋วรับจำนำแต่ละฉบับมีระยะเวลา 4 เดือน 30 วัน ผู้มาใช้บริการสามารถส่งดอก จะขอผ่อนก่อนครบกำหนดได้ หรือเพิ่มเงินต้นได้หากทรัพย์นั้นมีมูลค่าสูงกว่าที่ประเมินราคารับจำนำไว้ ทั้งนี้ จะต้องไม่เกินวงเงินที่กำหนด
เมื่อรวมกันทุกรายการแล้วไม่เกินวงเงิน 500,000 บาท ต่อหนึ่งรายต่อหนึ่งวัน
(06 มี.ค. 2563)
วัน- เวลา เปิดทำการของสถานธนานุเคราะห์?
สถานธนานุเคราะห์เปิดให้บริการ วันจันทร์- วันศุกร์
เวลา 08.00 น. – 16.30 น.
(22 ธ.ค. 2563)